วันอังคารที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน วัน/เดือน/ปี 20 พฤศจิกายน 2556 ครั้งที่ 3



บันทึกอนุทิน

   วิชา  การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ ตฤณ  แจ่มถิ่น

วัน/เดือน/ปี   20 พฤศจิกายน 2556    ครั้งที่  3


เวลาเข้าสอน  08.30  เวลาเลิกเรียน   12.20 น.


จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
   
- เพื่อให้เด็กมีความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์

- เพื่อพัฒนามโนภาพเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น การบวก การลบ

- ให้เด็กรู้จักคิดหากระบวนการกาคำตอบ

- ให้เด็กฝึกฝนคณิตศาสตร์พื้นฐาน

-ให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจ

-ส่งเสริมให้เด็กค้นคว้าคำตอบด้วยตนเอง


ทักษะคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
1.     การสังเกต
2.     การจำแนกประเภท
3.     การเปรียบเทียบ                               
4.     การจัดลำดับ
5.     การวัด
6.     การนับ
7.     เกี่ยวกับเรื่องรูปทรงและขนาด

   คำศัพท์เกี่ยวกับคณิตศาสตร์
  
      ตัวเลข - น้อย มาก น้อยกว่า มากกว่า ไม่มี ทั้งหมด
                               
   ขนาด - ใหญ่ คล้าย สองเท่า ใหญี่ที่สุด สูง เตี้ย
                            
    รูปทรงรูป - สามเหลี่ยม วงกลม สี่เหลี่ยม ยาว โค้ง สั้นกว่า แถว
                               
   ที่ตั้ง - บน ต่ำ ขวา สูงที่สุด ยอด ก่อน ระยะทาง ระหว่าง
                              
    ค่าความเร็ว - สลึง ห้าสิบสตางค์ หนึ่งบาท ห้าบาท สิบบาท
                              
    อุณหภูมิ - เย็น ร้อน อุ่น เดือด                                                                    


กิจกรรมในวันนี้คือ


                            สถานที่ที่ผ่านมาจากบ้านไปมหาวิทยาลัยราชภัฏจันเกษม















บันทึกอนุทิน วัน/เดือน/ปี 13 พฤศจิกายน 2556 ครั้งที่ 2




                                                                     บันทึกอนุทิน


                       วิชา  การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ ตฤณ  แจ่มถิ่น

วัน/เดือน/ปี   13 พฤศจิกายน 2556    ครั้งที่  2

เวลาเข้าสอน  08.30  เวลาเลิกเรียน   12.20 น.

คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

ความหมายของคณิตศาสตร์

       คณิต" หมายถึง การนับ การคำนวณ วิชาคำนวณ การประมาณ "คณิตศาสตร์" หมายถึง วิชาว่าด้วยการคำนวณหรือตำรา

คณิตศาสตร์ เป็นวิชาที่มีความจำเป็นในการประกอบอาชีพ เช่น ด้านกสิกรรม อุตสาหกรรม และพาณิชยกรรม ผู้มีอาชีพเป็น

สถาปนิก วิศวกรออกแบบ และควบคุมการก่อนสร้าง นักวิทยาศาสตร์คิดค้นสิ่งแปลก ใหม่ นักเศรษฐศาสตร์มีความจำเป็นที่จะ

ต้องมีความรู้ ความสามารถ เกี่ยวกับคณิตศาตร์ หรือตัวเลขต่าง ๆ ในการปรกอบกิจกรรมนั้น ๆ

ความสำคัญของคณิตศาสตร์
  • เกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับชีวิตประจำวัน
  • ส่งเสริมกระบวนการคิดแก้ปัญหาโดยเฉพาะอาศัยหลักการทางคณิตศาสตร์
  • เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการสำรวจข้อมูล วางแผนงานและประเมินผล
  • เป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ของวิชาต่างๆ
ทฤษฏีพัฒนาการด้านสติปัญญาของเด็กปฐมวัยตามแนวคิดของ  Piaget

              1. ขั้นพัฒนาการด้านประสาทสัมผัส แรกเกิด - 2 ปี
  • เด็กเรียนรู้จากประสาทสัมผัสต่างๆ
  • สามารถจดจำสิ่งต่างๆบอกคุณลักษณะของวัตถุได้
2. ขั้นเตรียมการความคิดที่มีเหตุผล อายุ 2-7 ปี                         
  • ใช้ภาษาพูดแสดงความรู้  ความคิด
  • เริ่มรู้จักคำที่บอกขนาด น้ำหนัก รูปทรงและความยาว


การอนุรักษ์ คือ เด็กจะทำในสิ่งที่ตนเองเห็น รับรู้ หรือสัมผัส 


หลักการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

-เปิดโอกาสให้เด็กได้พูดคุย อธิบายและสำรวจความสัมพันธ์แบบต่างๆ
-ผสมผสานคณิตศาสตร์กับการเล่นและกิจกรรมที่มีการลงมือปฏิบัติ
-เด็กได้ใช้ประาทสัมผัสต่างๆในการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับคณิตศาสตร์
-ใช้คำคำถามปลายเปิด
-เชื่อมโยงการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน


กิจกรรมสำหรับวันนี้

วันนี้อาจารย์ให้วาดรูปสัตว์ที่มีขาหลายๆขาให้ได้มากที่สุดดิฉันเลยวาดรูปกุ้งค่ะ


ความรู้ที่ได้รับ  

ได้รู้วิธีและขั้นตอนในการที่นำไปสอนเด็ก มีความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ














วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินวัน/เดือน/ปี 6 พฤศจิกายน 2556 ครั้งที่ 1


บันทึกอนุทิน

วิชา  การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ ตฤณ  แจ่มถิ่น

วัน/เดือน/ปี   6 พฤศจิกายน 2556    ครั้งที่  1

เวลาเข้าสอน  08.30  เวลาเลิกเรียน   12.20 น.

วันนี้อาจารย์ให้อธิบายเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

แล้วอาจารย์ก็ให้เขียนตามความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์

โดยอาจารย์ให้ทำเป็น  Mind  map



เพื่่อนที่ออกไปนำเสนอหน้าห้องและได้อธิบายเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์






การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

คณิตศาสตร์มีอยู่ทุกหนทุกแห่งรอบตัวเรา  ในแต่ละวัน เด็กๆมีโอกาสที่จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับ

ตัวเลข   จำนวน  รูปทรงเรขาคณิต  การจับคู่  การแยกประเภท  ยกตัวอย่างเช่น   การตื่นนอน

(เรื่องของเวลา)  การแต่งกาย (การจับคู่เสื้อผ้า)  การรับประทานอาหาร (การคาดคะเนปริมาณ)


และการจัดกิจกรรมต่างๆที่เปิดโอกาศ ให้เด็กได้กระทำด้วยตนเอง ผ่านการเล่น   การได้สัมผัส

การจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามหลักสูตร

การสังเกตการจำแนกและเปรียบเทียบ

  1. การจำแนกความเหมือนความแตกต่าง
  2. การจัดหมวดหมู่
  3. การเรียงลำดับต่างๆ


ทางด้านตัวเลข  และจำนวน

  1. การนับจำนวน
  2. การรู้ค่าของจำนวน
  3. การดำเนินการเกี่ยวกับจำนวน