วันอาทิตย์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน วัน/เดือน/ปี 11 ธันวาคม 2556 ครั้งที่ 6


   บันทึกอนุทิน
                      วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

                  อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ ตฤณ   แจ่มถิ่น
                        วัน/เดือน/ปี   11  ธันวาคม  2556      ครั้งที่ 6
                            เวลาเข้าสอน   -      เวลาเรียน   -        

                    เวลาเลิกเรียน   -     


วันนี้มีกิจกรรมกีฬาสีของคณะศึกษาศาสตร์  ทุกคนต้องเข้าร่วมกิจกรรมกีฬาสี ทั้ง อาจารย์และนักศึกษา
คณะศึกษาศาสตร์ทุกคน  จึงไม่มีการเรียนการสอนในวันนี้ ทั้งวันเลย แต่ทุกสีก็ร่วมมือร่วมใจกันเพื่อที่จะให้
กิจกรรมของกีฬาสีสำเร็จไปได้ด้วยดี  โดยที่กีฬาสีในวันนี้จะมีสีอยู่  4  สี  ด้วยกัน  คือ  สีแดง  สีน้ำเงิน 
สีส้ม  และสีชมพู

ภาพของกิจกรรมกีฬาสี









พีธีปิดกีฬาสีของวันนี้








































วันอังคารที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน วัน/เดือน/ปี 4 ธันวาคม 2556 ครั้งที่ 5


              บันทึกอนุทิน
                                 วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

          อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ ตฤณ   แจ่มถิ่น
                      วัน/เดือน/ปี   4  ธันวาคม  2556      ครั้งที่ 5
                เวลาเข้าสอน  08.00 น.    เวลาเรียน 08.30  น.
          เวลาเลิกเรียน   12.20 น.

  วันนี้เพื่อนๆได้ออกมานำเสนอสื่่อที่เกี่ยวกับหัวเรื่องของแต่ละกลุ่ม   ให้เพื่อนๆได้เห็นภาพจริงๆ
ในการจัดกิจกรรมของแต่ละกลุ่มว่าเป็นอย่างไร         และก็มีการนำเสนอของแต่ละกลุ่มมีหัวข้อ อยู่ 4 หัวข้อ
คือ      จำนวนและการดำเนินการ    รูปทรงเรขาคณิต    การวัด   พีชคณิต    การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น

กลุ่มของพีชคณิต

เพื่อนๆกลุ่มนี้ได้นำกิจกรรมมานำเสนอ คือ   หาภาพที่หายไปในช่องว่างที่กำหนดให้  ที่คิดว่ามันสัมพันธ์กันมาเติมให้ถูกต้อง



กลุ่มของการวัด

  เพื่อนกลุ่มนี้มีกิจกรรมมานำเสนอ คือ มีรูปภาพมาให้ดูเพื่อเปรียบเทียบว่าภาพไหนยาว- ภาพไหน     สั้น  สูง -ต่ำ ซึ่่งเพื่อนนำ ภาพปลา  หนอน  ยีราฟ มาให้ดู กับภาพ หมีอีก 3 ตัว ดินสออีก 2  แท่ง   ภาพมังคุด 2 ลูก และภาพแก้วน้ำ 3แก้ว





กลุ่ม   การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น

ได้นำเสนอกิจกรรมคือ  นำลูกปิงปอง สีส้ม สีขาว สีน้ำเงิน มารวมกันแล้ว สุ่มจับมาหนึ่งลูก  ทายว่าจะออกมาสีไหน
สีขาว  สีส้ม หรือ  สีน้ำเงิน



   รูปทรงเรขาคณิต

เพื่อนๆกลุ่มนี้ได้นำเสนอกิจกรรม คือ นำรูปทรงมาให้ดู รูปทรงต่างๆ คือรูป สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม  วงกลม คางหมู   เหลี่ยม ห้า หกเหลี่ยม



  กลุ่มของ จำนวนและการดำเนินการ

ได้นำเสนอกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเปรียบเทียบ ระหว่าง ผลไม้ เล็ก-ใหญ่   เปรีบเทียบ ตัวสัตว์ -หัวสัตว์    กลุ่มของดิฉันให้เพื่อน ได้ออกมามีส่วนร่วมด้วยกันในการนำเสนอกิจกรรมในครั้งนี้ และใหเพื่อนเต้นไปพร้อมๆกันร้องเพลงเกี่ยวกับการนับ


พอนำเสนอเสร็จอาจารย์ก็ให้ทำงานชิ้นหนึ่งขึ้นค่ะ



นี้คือผลงานของหนูค่ะ























วันอังคารที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน วันที่ 27 พฤศจิกายน 2556 ครั้งที่ 4


บันทึกอนุทิน

       วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน   อาจารย์ตฤณ     แจ่มถิน

วันที่  27   พฤศจิกายน   2556 ครั้งที่ 4

เวลาเข้าสอน  08.00 น  . เวลาเรียน  08.30 น.

วันนี้มีการนำเสนอเป็นกลุ่มที่อาจารย์ได้แบ่งไว้ให้   โดยแต่ละกลุ่มได้นำเสนอกลุ่มละ 1  หัวข้อ

กลุ่มของดิฉัน นำเสนอเรื่อง  จำนวนและการดำเนินการ

จำนวน  หมายถึง   วัตถุนามธรรมที่ใช้สำหรับอธิบายปริมาณ  หมวด  หมู่   แผนก  กำหนดปริมาณที่กำหนดไว้  ยอดรวมที่กำหนดไว้เป็นส่วนๆ   
   การดำเนินการ  หมายถึง การกระทำลงมือ จัดการ  ปฎิบัติการ  ทำให้เป็นไป ปฎิบัติหน้าที่ดำเนินการ

  จำนวนและการดำเนินการ คือ การรวบรวมและการแยกกลุ่ม เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดง
จำนวน และการใช้ในชีวิตประจำวัน
 

แนวทางในการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์แก่เด็กปฐมวัย มี 5 ขั้นตอน ดังนี้

 1. ปัจจัยสําคัญที่สอนเด็ก โดยแบ่งออกเป็น 4 ขั้น  คือ
     1.1  ขั้นใช้ของจริง เมื่อจะให้เด็กนับหรือเปรียบเทียบสิ่งของควรใช้ของจริง เช่น ผลไม้ ดินสอ เป็นต้น
      1.2  ขั้นใช้รูปภาพแทนของจริง ถ้าหากหาของจริงไม่ได้ก็เขียนรูปภาพแทน
     1.3  ขั้นกึ่งรูปภาพ คือ สมมติเครื่องหมายต่าง ๆ แทนภาพหรือจำนวนที่จะให้เด็กนับหรือคิด    
     1.4  ขั้นนามธรรม ซึ่งเป็นขั้นสุดท้ายที่จะใช้ ได้แก่ เครื่องหมายบวก ลบ
       2. เริ่มจากสิ่งที่ง่าย ๆ ใกล้ตัวเด็ก จากง่ายไปหายาก
      3. สร้างความเข้าใจและรู้ความหมายมากกว่าให้เด็กท่องจำ
4. ฝึกให้คิดจากปัญหาในชีวิตประจำวันของเด็ก เพื่อขยายประสบการณ์ให้สัมพันธ์กันประสบการณ์เดิม                                                                                               
5. จัดกิจกรรมให้เกิดความสนุกสนาน และได้รับความรู้ไปด้วย    เช่น
     เล่นเกมต่อภาพ   จับคู่ภาพ  ต่อตัวเลข    ท่องคำคล้องจองเกี่ยวกับจำนวน   ร้องเพลงเกี่ยวกับการนับ

คุณภาพของเด็กปฐมวัย  สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์

คณิตศาสตร์ของเด็ก 3 ปี          
 1) เข้าใจและมีพัฒนาการด้านความรู้สึกเชิงจำนวนเกี่ยวกับจำนวนนับไม่เกินห้า
          2) เข้าใจเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร และเวลา สามารถเปรียบเทียบและใช้คำ       
          3) ใช้คำบอกตำแหน่งของสิ่งต่างๆ  รู้จักทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ในชีวิตประจำวัน และใช้ทรงกลมทรงสี่เหลี่ยมุมฉาก สร้างสรรค์งานศิลปะ

คณิตศาสตร์ของเด็กอายุ  4  ปี
 1) เข้าใจและมีพัฒนาการด้านความรู้สึกเชิงจำนวนเกี่ยวกับจำนวนนับไม่เกินสิบ
    2) เข้าใจเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร และเวลา สามารถเรียงลำดับความยาว-สั้นและเรียงลำดับกิจกรรม เหตุการณ์ในชีวิตประจำวันที่เกิดขึ้นได้        
   3) สามารถจำแนกทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก และใช้ทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก กรวยทรงกระบอกสร้างสรรค์งานศิลปะ 
4
)เข้าใจ   รูปร่าง ขนาด สี ที่สัมพันธ์กัน สามารถทำตามแบบรูปที่กำหนด
นี้ก็คือกลุ่มพวกเราที่ออกไปนำเสนอเรื่อง
 จำนวนและการดำเนินการ


กลุ่มที่ 2   นำเสนอเรื่อง  เลขาคณิต

     รูปเรขาคณิตสองมิติ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ตามลักษณะของขอบหรือด้านของรูป ได้แก่ กลุ่มที่มีขอบหรือด้านของรูปเป็นส่วนของเส้นตรง กลุ่มนี้คือ รูปหลายเหลี่ยม  และกลุ่มที่มีขอบหรือด้านเป็นเส้นโค้งงอ เช่น รูปวงกลม และรูปวงรี เป็นต้น กลุ่มนี้ไม่มีชื่อเรียกโดยเฉพาะ

รูป เรขาคณิต หมายถึง รูปต่างๆ ทางเรขาคณิต เช่น


รูปสามเหลี่ยม มีด้าน 3 ด้าน มีมุม 3 มุม

รูปสี่เหลี่ยม มีด้าน 4 ด้าน มีมุม 4 มุม

รูปห้าเหลี่ยม มีด้าน 5 ด้าน มีมุม 5 มุม

รูปหกเหลี่ยม มีด้าน 6 ด้าน มีมุม 6 มุม

รูปแปดเหลี่ยม มีด้าน 8 ด้าน มีมุม 8 มุม

รูปวงกลม มีเส้นโค้งเป็นวงกลม และห่างจากจุดศูนย์กลางเป็นระยะทางเท่ากัน

รูปวงรี มีเส้นเส้นโค้งเป็นวงรี โดยห่างจากจุดศูนย์กลางไม่เท่ากัน

นี้ก็คือกลุ่มที่รายงาน  เรื่อง  เลขาคณิต


เรื่อง ของการวัด

          การวัด คือกระบวนการเพื่อให้ได้มาซึ่งขนาดของปริมาณอันหนึ่ง เช่นความยาวหรือมวล และเกี่ยวข้องกับหน่วยวัด เช่นเมตรหรือกิโลกรัม คำนี้ยังอาจหมายถึงผลลัพธ์ที่ได้หลังจากกระบวนการดังกล่าว ผลของการวัดสิ่งหนึ่งสามารถนำไปเปรียบเทียบกับผลของการวัดสิ่งอื่นได้เมื่อใช้หน่วยวัดเดียวกัน การวัดและหน่วยวัดเป็นเครื่องมือแรกเริ่มชนิดหนึ่งที่คิดค้นโดยมนุษย์ สังคมพื้นฐานต้องการใช้การวัดในงานหลายอย่างเช่น การก่อสร้างที่อยู่อาศัยที่ถูกต้องตามขนาดและรูปร่าง การตัดเย็บเครื่องนุ่งห่ม การเจรจาต่อรองเพื่อค้าขายอาหารหรือวัตถุดิบอย่างอื่น
การวัด


เรื่องพีชคณิต

    รพีชคณิต หมายถึงการดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดของการบวก การบวก  การคูณ การหาร การยก
กำลัง  จำนวนเต็ม (การยกกำลังด้วยเศษส่วน) การดำเนินการพีชคณิตกระทำบนตัวแปรเชิงพีชคณิตและ
ทำงานได้เหมือนกับการดำเนินการเลขคณิต 



เรื่อง การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น

การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น

  1. เข้าใจและใช้วิธีการทางสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล
  2. ใช้วิธีการทางสถิติและความรู้เกี่ยวกับความน่าจะเป็นในการคาดการณ์ได้
  3. ใช้ความรู้เกี่ยวกับสถิติและความน่าจะเป็นช่วยในการตัดสินจัยและแก้ปัญหา


สิ่งที่ได้รับและการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

ได้รู้จักความหมายและการดำเนินการ รู้จักรูปทรงของเลขาคณิต และความหมายของการวัดได้รู้จักเรื่องของพีชคณิต
และการวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น สามารถใช้ในการสอนในรายวิชาคณิตศาสตร์ ได้  และสามารถเปิดโอกาส
ให้เด็กได้เรียนรู้และค้นหา และมีความสนุกสนานในการเรียนรู้รูปทรงต่างๆค่ะ