บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 27 พฤศจิกายน 2556 ครั้งที่ 4
เวลาเข้าสอน 08.00 น . เวลาเรียน 08.30 น.
วันนี้มีการนำเสนอเป็นกลุ่มที่อาจารย์ได้แบ่งไว้ให้ โดยแต่ละกลุ่มได้นำเสนอกลุ่มละ 1 หัวข้อ
กลุ่มของดิฉัน นำเสนอเรื่อง จำนวนและการดำเนินการ
จำนวน หมายถึง วัตถุนามธรรมที่ใช้สำหรับอธิบายปริมาณ หมวด หมู่ แผนก กำหนดปริมาณที่กำหนดไว้ ยอดรวมที่กำหนดไว้เป็นส่วนๆ
การดำเนินการ หมายถึง การกระทำลงมือ จัดการ ปฎิบัติการ ทำให้เป็นไป ปฎิบัติหน้าที่ดำเนินการ
จำนวนและการดำเนินการ คือ การรวบรวมและการแยกกลุ่ม เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดง
จำนวน และการใช้ในชีวิตประจำวัน
แนวทางในการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์แก่เด็กปฐมวัย
มี 5 ขั้นตอน ดังนี้
1. ปัจจัยสําคัญที่สอนเด็ก โดยแบ่งออกเป็น 4 ขั้น คือ
1.1 ขั้นใช้ของจริง
เมื่อจะให้เด็กนับหรือเปรียบเทียบสิ่งของควรใช้ของจริง เช่น ผลไม้ ดินสอ เป็นต้น
1.2 ขั้นใช้รูปภาพแทนของจริง
ถ้าหากหาของจริงไม่ได้ก็เขียนรูปภาพแทน
1.3 ขั้นกึ่งรูปภาพ คือ
สมมติเครื่องหมายต่าง ๆ แทนภาพหรือจำนวนที่จะให้เด็กนับหรือคิด
1.4 ขั้นนามธรรม
ซึ่งเป็นขั้นสุดท้ายที่จะใช้ ได้แก่ เครื่องหมายบวก ลบ
2. เริ่มจากสิ่งที่ง่าย ๆ ใกล้ตัวเด็ก จากง่ายไปหายาก
3. สร้างความเข้าใจและรู้ความหมายมากกว่าให้เด็กท่องจำ
4. ฝึกให้คิดจากปัญหาในชีวิตประจำวันของเด็ก
เพื่อขยายประสบการณ์ให้สัมพันธ์กันประสบการณ์เดิม
5. จัดกิจกรรมให้เกิดความสนุกสนาน และได้รับความรู้ไปด้วย เช่น
เล่นเกมต่อภาพ จับคู่ภาพ
ต่อตัวเลข
ท่องคำคล้องจองเกี่ยวกับจำนวน ร้องเพลงเกี่ยวกับการนับ
คุณภาพของเด็กปฐมวัย
สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
คณิตศาสตร์ของเด็ก 3 ปี
1)
เข้าใจและมีพัฒนาการด้านความรู้สึกเชิงจำนวนเกี่ยวกับจำนวนนับไม่เกินห้า
2) เข้าใจเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร
และเวลา สามารถเปรียบเทียบและใช้คำ
3)
ใช้คำบอกตำแหน่งของสิ่งต่างๆ รู้จักทรงกลม
ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ในชีวิตประจำวัน และใช้ทรงกลมทรงสี่เหลี่ยมุมฉาก
สร้างสรรค์งานศิลปะ
คณิตศาสตร์ของเด็กอายุ 4 ปี
1)
เข้าใจและมีพัฒนาการด้านความรู้สึกเชิงจำนวนเกี่ยวกับจำนวนนับไม่เกินสิบ
2) เข้าใจเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร
และเวลา สามารถเรียงลำดับความยาว-สั้นและเรียงลำดับกิจกรรม
เหตุการณ์ในชีวิตประจำวันที่เกิดขึ้นได้
3) สามารถจำแนกทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก และใช้ทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก กรวยทรงกระบอกสร้างสรรค์งานศิลปะ
4)เข้าใจ รูปร่าง ขนาด สี ที่สัมพันธ์กัน สามารถทำตามแบบรูปที่กำหนด
3) สามารถจำแนกทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก และใช้ทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก กรวยทรงกระบอกสร้างสรรค์งานศิลปะ
4)เข้าใจ รูปร่าง ขนาด สี ที่สัมพันธ์กัน สามารถทำตามแบบรูปที่กำหนด
นี้ก็คือกลุ่มพวกเราที่ออกไปนำเสนอเรื่อง
จำนวนและการดำเนินการ
กลุ่มที่ 2 นำเสนอเรื่อง เลขาคณิต
รูปเรขาคณิตสองมิติ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ตามลักษณะของขอบหรือด้านของรูป ได้แก่ กลุ่มที่มีขอบหรือด้านของรูปเป็นส่วนของเส้นตรง กลุ่มนี้คือ รูปหลายเหลี่ยม และกลุ่มที่มีขอบหรือด้านเป็นเส้นโค้งงอ เช่น รูปวงกลม และรูปวงรี เป็นต้น กลุ่มนี้ไม่มีชื่อเรียกโดยเฉพาะ
รูป เรขาคณิต หมายถึง รูปต่างๆ ทางเรขาคณิต เช่น
รูปสามเหลี่ยม มีด้าน 3 ด้าน มีมุม 3 มุม
รูปสี่เหลี่ยม มีด้าน 4 ด้าน มีมุม 4 มุม
รูปห้าเหลี่ยม มีด้าน 5 ด้าน มีมุม 5 มุม
รูปหกเหลี่ยม มีด้าน 6 ด้าน มีมุม 6 มุม
รูปแปดเหลี่ยม มีด้าน 8 ด้าน มีมุม 8 มุม
รูปวงกลม มีเส้นโค้งเป็นวงกลม และห่างจากจุดศูนย์กลางเป็นระยะทางเท่ากัน
รูปวงรี มีเส้นเส้นโค้งเป็นวงรี โดยห่างจากจุดศูนย์กลางไม่เท่ากัน
นี้ก็คือกลุ่มที่รายงาน เรื่อง เลขาคณิต
เรื่อง ของการวัด
การวัด คือกระบวนการเพื่อให้ได้มาซึ่งขนาดของปริมาณอันหนึ่ง เช่นความยาวหรือมวล และเกี่ยวข้องกับหน่วยวัด เช่นเมตรหรือกิโลกรัม คำนี้ยังอาจหมายถึงผลลัพธ์ที่ได้หลังจากกระบวนการดังกล่าว ผลของการวัดสิ่งหนึ่งสามารถนำไปเปรียบเทียบกับผลของการวัดสิ่งอื่นได้เมื่อใช้หน่วยวัดเดียวกัน การวัดและหน่วยวัดเป็นเครื่องมือแรกเริ่มชนิดหนึ่งที่คิดค้นโดยมนุษย์ สังคมพื้นฐานต้องการใช้การวัดในงานหลายอย่างเช่น การก่อสร้างที่อยู่อาศัยที่ถูกต้องตามขนาดและรูปร่าง การตัดเย็บเครื่องนุ่งห่ม การเจรจาต่อรองเพื่อค้าขายอาหารหรือวัตถุดิบอย่างอื่น
การวัด
เรื่องพีชคณิต
รพีชคณิต หมายถึงการดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดของการบวก การบวก การคูณ การหาร การยก
กำลัง จำนวนเต็ม (การยกกำลังด้วยเศษส่วน) การดำเนินการพีชคณิตกระทำบนตัวแปรเชิงพีชคณิตและ
ทำงานได้เหมือนกับการดำเนินการเลขคณิต
เรื่อง การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
- เข้าใจและใช้วิธีการทางสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล
- ใช้วิธีการทางสถิติและความรู้เกี่ยวกับความน่าจะเป็นในการคาดการณ์ได้
- ใช้ความรู้เกี่ยวกับสถิติและความน่าจะเป็นช่วยในการตัดสินจัยและแก้ปัญหา
สิ่งที่ได้รับและการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
ได้รู้จักความหมายและการดำเนินการ รู้จักรูปทรงของเลขาคณิต และความหมายของการวัดได้รู้จักเรื่องของพีชคณิต
และการวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น สามารถใช้ในการสอนในรายวิชาคณิตศาสตร์ ได้ และสามารถเปิดโอกาส
ให้เด็กได้เรียนรู้และค้นหา และมีความสนุกสนานในการเรียนรู้รูปทรงต่างๆค่ะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น