วันพฤหัสบดีที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน วัน/เดือน/ปี 12 กุมภาพันธ์ 2557 ครั้งที่ 11


บันทึกอนุทิน

วิชาการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ ตฤณ  แจ่มถิ่น

วัน/เดือน/ปี 12  กุมภาพันธ์  2557 ครั้งที่  11

เวลาเข้าสอน 08.00  น. เวลาเรียน  08.30 น.

เวลาเลิกเรียน  12.20 น.

วันนี้อาจารย์ให้นำเสนอสื่่่อที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ที่นักศึกษาได้ทำแล้วออกมานำเสนอให้เพื่อนๆในห้องได้ฟัง  ว่าแต่ล่ะกลุ่มได้ทำสื่อออกมาในรูปแบบใดบ้าง

นี้คือสื่อผลงานของกลุ่มดิฉันคือ การจัดเรียงลำดับพาเพลิน
  


วิธีการเล่น   ให้เรียงลำดับจากน้อยไปหามาก หรือ จากมากไปหาน้อยก็ได้โดยจำแนกสีเป็นหลัก

ผลที่เกิดขึ้นมื่อเด็กเล่นสื่อประเภทนี้    

  เด็กเกิดความสนใจสื่อที่นำมาเล่นและเกิดความสนุกสนานในการเล่นสื่อ เด็กได้ใช้สมาธิในการจัดเรียงลำดับและจำแนกสีของแต่ล่ะสีได้เหมือนกันโดยแต่ล่ะคนจะจัดเรียงไม่เหมือนกัน

น้องปลาย อายุ 3 ขวบ  น้องทำจากมากไปหาน้อยจาก 5 จนถึง 1  แต่น้องจัดเรียงจาก 5 4 3 2 1แล้วนับไปด้วยคือ 1 2 3 4 5  น้องนับรวมกันหมดแต่นับทีละชิ้น

น้องติม  อายุ 4  ขวบ   น้องแยกแยะจำนวนสีได้ น้องเล่น 5 ครั้ง ก็ถูกทุกครั้งน้องเรียงลำดับจาก 1 ไป 5 และก็ทำจาก 5  ไป 1  น้องติมนับทีละชิ้นได้ และนับรวมกันหมดได้

น้องนาเดียร์ อายุ 5 ขวบ   น้องเรียงลำดับได้ถูกต้อง น้องพลัดเปลี่ยนได้ เช่น3ก่อน ค่อยมา 2 1 หรือเรียงจาก1 ไป 5 น้องเดียร์เล่นมากกว่า  5 ครั้ง ทำถูกทุกครั้งในการจำแนกสีและจะนวน

ปัญหาที่พบ   เด็กแต่ละคนจะจัดเรียงไม่เหมือนกันและเรียงตามสีที่ตัวเองชอบ

สรุป  เด็กแต่ละคนอาจเรียงไม่เหมือนกัน เพราะ พัฒนาการของเด็กแต่ละช่วงอายุแตกต่างกัน

          แต่สิ่งที่เหมือนกัน คือ การนับจำนวนทุกครั้งในการจัดเรียง สนใจในการเล่น 


และนี้คือผลงานของเพื่อนที่ประทับจัยที่สุดมีอยู่  2  กลุ่มค่ะ
ซึ่งสามารถเอาไปใช้สอนจริงกับเด็กอนุบาลค่ะ

ชื่อว่า นาฬิกาหรรษา



วิธีการเล่น


  1. ให้เด็กได้รู้จักกับนาฬิกาก่อนว่านาฬิกามีลักษณะอย่างไร
  2. ครูถอดชิ้นส่วนที่เป็นตัวเลขของนาฬิกาตลอด
  3. ให้เด็กประกอบชิ้นส่วนของนาฬิกาให้ถูกต้องตามตัวเลขและรูปร่าง
  4. ให้เด็กเลือกภาพที่มีความสัมพันธ์กับเวลาแล้วนำไปเสียบด้านบนที่เป็นวงกลม ข้างซ้ายมือที่เป็นพระจันทร์หรือพรอาทิตย์ ส่วนข้างขวามือเป็นภาพการใช้ชีวิตประจำวันของเด็ก

ประโยชน์ที่ได้รับ

  1. เด็กได้รู้จักกับเวลาและกิจวัตรประจำวัน
  2. เด็กได้เรียนรู้เรื่องรูปทรง เรขาคณิตและเรื่องของพีชคณิต
  3. ฝึกความคิดและความกล้าตัดสินใจ
ปัญหาที่พบ
  1. เด็กที่อยู่อนุบาล 3 ไม่สามารถแยกแยะเข็มสั้นเข็มยาวของนาฬิกาได้ เด็กสามารถหมุนได้ว่าเข็มสั้นจะชี้เลขใด และเข็มยาวชี้เลขใด
  2. เด็กที่อยู่อนุบาล 1  ไม่สามารถเล่นได้เพราะยังแยกแยะไม่ได้ ยังไม่รู้จักตัวเลขและรูปทรง

ชื่อสื่อว่า ร้านค้าพาเพลิน



ประโยชน์ของสื่อ

ช่วยให้เด็กได้รู้จักคุณค่าของเงินและรู้จักการจับจ่ายเกี่ยวกับเรื่องของจำนวนของเงินค่ะ

และนี้สื่อของเพื่อนๆในห้องค่ะ


















ผลงานของเพื่อนนักศึกษาปีที่ 2  ค่ะ ที่ได้นำสื่อไปใช้กับเด็กได้จริงค่ะ


ประโยชน์ของสื่อ

  1. เปิดโอกาสให้นักเรียนได้เรียนรู้จากวัตถุที่เป็นรูปธรรม ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้นักเรียนได้สร้างแนวความคิดด้วย       ตนเอง        
  2. กระตุ้นให้นักเรียนเกิดความสนใจในเรื่องที่จะเรียนมากขึ้น 
   3. ช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ได้งายขึ้นและสามารถจดจำได้นาน 
   4. ให้ประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้นักเรียนทำกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยตนเอง 
   5. นำประสบการณ์นอกห้องเรียนมาให้นักเรียนศึกษาในห้องเรียนได้ 

  































































วันอาทิตย์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน วัน/เดือน/ปี 29 มกราคม 2557 ครั้งที่ 10


บันทึกอนุทิน


วิชาการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ ตฤณ  แจ่มถิ่น

วัน/เดือน/ปี 29  มกราคม  2557 ครั้งที่ 10

เวลาเข้าสอน 08.00  น. เวลาเรียน  08.30 น.

เวลาเลิกเรียน  12.20 น.

วันนี้อาจารย์ให้เขียนแผนการสอนเกี่ยวกับวิชาคณิตศาสตร์  แล้วให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มคนล่ะ  5  คน  แล้วช่วยกันคิดว่าจะทำแผนการสอนให้เหมาะกับเด็กอนุบาลไหน   และให้สอดคล้องกับวิชาคณิตศาสตร์ค่ะ    


บรรยากาศในห้องเรียน ในการเขียนแผนการสอนค่ะ





พอเขียนแผนการสอนเสร็จทุกกลุ่มแล้ว ก็ออกมานำเสนอแผนการสอนของแต่ละกลุ่มค่ะ










นี้ก็คือเพื่อนๆในห้องเรียนที่ได้ออกมานำเสนอแผนการสอนของกลุ่มตัวเองค่ะ


และนี้ก็คือแผนกลุ่มของพวกหนูที่ได้ช่วยกันคิดแผนการสอนของเด็กอนุบาล 1  ค่ะ



แผนการสอนของเด็กอนุบาล  3  ค่ะ  เรื่อง  มันคืออะไร




 ประโยชน์ของแผนการสอน

               
1. ทำให้เกิดการวางแผนวิธีสอนวิธีเรียนที่มีความหมายยิ่งขึ้น เพราะเป็นการจัดทำอย่างมีหลักการที่ถูกต้อง

                2. ช่วยให้ครูมีคู่มือการสอนที่ทำด้วยตนเอง ทำให้เกิดความสะดวกในการจัดการเรียนการสอน ทำให้สอนได้ครบถ้วนตรงตามหลักสูตร และสอนได้ทันเวลา
                3. เป็นผลงานวิชาการที่สามารถเผยแพร่เป็นตัวอย่างได้
                4. ช่วยให้ความสะดวกแก่ครูผู้มาสอนแทนในกรณีที่ผู้สอนไม่สามารถเข้าสอนได้

    องค์ประกอบของแผนการสอน

                องค์ประกอบของแผนการสอน เกิดขึ้นจากความพยายามตอบคำถามดังต่อไปนี้

                1.
 สอนอะไร (หน่วย หัวเรื่อง ความคิดรวบยอด หรือสาระสำคัญ)
                2.
 เพื่อจุดประสงค์อะไร (จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม)
                3.
 ด้วยสาระอะไร (โครงร่างเนื้อหา)
                4.
 ใช้วิธีการใด (กิจกรรมการเรียนการสอน)
                5. 
ใช้เครื่องมืออะไร (สื่อการเรียนการสอน)
                6.
 ทราบได้อย่างไรว่าประสบความสำเร็จหรือไม่ (วัดผลประเมินผล)

 
     แผนการสอนมีองค์ประกอบ ดังนี้

               1. 
วิชา หน่วยที่สอนและสาระสำคัญ (ความคิดรวบยอดของเรื่อง)
               2.
 จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
               3.
 เนื้อหา
               4.
 กิจกรรมการเรียนการสอน
               5.
 สื่อการเรียนการสอน
               6.
 วัดผลประเมินผล


นี้ก็คือผลงานของกลุ่มของพวกเราน่ะค่ะ  ในการเขียนแผนการสอนในครั้งนี้
















วันอังคารที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน วัน/เดือน/ปี 22 มกราคม 2557 ครั้งที่ 9


บันทึกอนุทิน

วิชาการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ ตฤณ  แจ่มถิ่น

วัน/เดือน/ปี 22  มกราคม  2557 ครั้งที่ 9

เวลาเข้าสอน 08.00  น. เวลาเรียน  08.30 น.

เวลาเลิกเรียน  12.20 น.


วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาทำกิจกรรมเกี่ยวกับ การทำรูปทรงเรขาคณิตและการจำแนกสีต่างๆ
และอาจารย์ได้แจกกระดาษและอุปกรณ์ให้กับนักศึกษา

นี้คือกลุ่มของดิฉัน ที่กำลังวางแผนการทำงานค่ะ



นี้คือผลงานทีสมบูรณ์แล้วค่ะ  กลุ่มของพวกหนู




และนี้คือผลงานของเพื่อนๆค่ะ














การนำไปใช้

-  สามารถนำไปจัดกิจกรรมให้เด็กได้  โดยการเล่านิทานให้เด็กฟัง
-  เด็กสามารถจำแนกสี  เรียงลำดับ และนับจำนวนได้
-  เด็กสามารถเปรียบเทียบและรู้จักรูปทรงต่างๆ เช่น  วงกลม  สี่เหลี่ยม  สามเหลี่ยม เป็นต้น


     พอนำเสนอเสร็จอาจารย์ก็ยกตัวอย่างการสอนคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย  เช่น การจำแนกประเภท
ของสัตว์ที่เป็นสัตว์มีพิษและไม่มีพิษ     การจำแนกประเภทของสัตว์เลี้ยง และสัตว์ป่า    การเปรียบเทียบระหว่าง  อาหารที่มีประโยนช์และไม่มีประโยชน์      การสำรวจ   ร่มแบบใดที่หนูชอบ     การสังเกต   การเปรียบเทียบความเหมือน    ความต่าง      

พออาจารย์สอนการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยเสร็จแล้วก็ให้นักศึกษาทำงานชิ้นหนึ่งทำเป็นกลุ่ม

มี 3 กลุ่ม คือ  

1  การเปรียบเทียบ

2   การเปรียบเทียบความเหมือน- ความต่าง

3  การสำรวจสิ่งที่ชอบ

กลุ่มที่ 1  การเปรียบเทียบระหว่างของใช้ในห้องนอนกับของใช้ในห้องครัว
         




กลุ่มที่ 2  การเปรียบเทียบความเหมือน - ความต่าง




กลุ่มที่ 3  การสำรวจสัตว์แบบใดที่หนูชอบ





ทั้งหมดนี้ก็เป็นผลงานของนักศึกษาปี 2  ที่ช่วยระดมความคิดและออกแบบออกมาเพื่อใช้ในการเรียนการสอนในวิชาคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยค่ะ    









บันทึกอนุทิน วัน/เดือน/ปี 15มกราคม 2557 ครั้งที่ 8


บันทึกอนุทิน

วิชา  การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ   แจ่มถิ่น

วัน/เดือน/ปี 15มกราคม 2557 ครั้งที่ 8 

เวลาเข้าสอน 08.00 น. เวลาเรียน  08.30 น.

เวลาเลิกเรียน  12.20 น.
    
     วันนี้อาจารย์ ให้ทำกิจกรรมในห้องเรียน เป็นนิทานเล่มใหญ่  อาจารย์ให้นักศึกษาพากัน แต่งนิทานร่วมกัน แล้วนำมาแบ่งหัวข้อว่าใครจะได้ทำข้อไหน  ตอนนัยของนิทาน
  

นิทานเรื่อง  ลูกหมูเก็บฟืน


       กาลครั้งหนึ่งมีบ้านอยู่สามหลัง หลังที่หนึ่งมีรูปร่างเป็นวงกลม หลังที่สองมีรูปร่างเป็นสามเหลี่ยม และหลังที่สามมีรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยม   ในบ้านแต่ละหลังมีลูกหมูอาศัยอยู่ หลังละ 2 ตัว หมูแต่ละตัวจะออกไปทำงานทุกเช้า  หมูที่อยู่บ้านหลังที่เป็นวงกลมต้องเดินทางไปที่ทำงานซึ่งไกลมาก   หมูที่อยู่บ้านสามเหลี่ยมกับสี่เหลี่ยมเดินทางไม่ไกลจากที่ทำงาน  หมูที่อยู่บ้านหลังวงกลมเดินทางไปเก็บฟืนในป่า  ซึ่งในป่ามีฟื้นเยอะแยะเลย เจ้าหมู 2 ตัวนี้ก็เลยเรียกเพื่อนที่อยู่บ้านหลังสี่เหลี่ยมกับสามเหลี่ยมเพื่อมาช่วยเก็บฟืนในป่า   หมูทั้ง 6 ตัวช่วยกันนับฟืนที่เก็บได้มีทั้งหมด 10 ท่อน  แล้วหมูก็นำฟืนสามท่อนไปจุดไฟเพื่อทำกับข้าว หมูก็เลยเหลือฟืนทั้งหมด 7 ท่อน  และหมูก็นำฟืน 7 ท่อนที่เหลือเก็บไว้ใช้ในวันต่อไป

อุปกรณ์ที่จะทำนิทาน




เพื่อนๆพากันวางแผนการทำงาน







เริ่มลงมือทำนิทาน


ผลงานของกลุ่มพวกหนูที่ช่วยกันออกแบบ


และผลงานนิทานของแต่ละกลุ่มก็ออกมานำเสนอนิทานที่ตนเองออกแบบค่ะ




และนี้ก็เป็นผลงานของนักศึกษาปีที่ 2 ที่ได้คิดเนื้อเรื่องของนิทานลูกหมูเก็บฟืนและได้ออกแบบรูปภาพของนิทานที่ตนเองได้ ออกมาสมบูรณ์แบบเป็นที่น่าภาคภูมิใจมากค่ะ    สวยทั้งหมดเลยค่ะ