บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ ตฤณ แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี 12 กุมภาพันธ์ 2557 ครั้งที่ 11
เวลาเข้าสอน 08.00 น. เวลาเรียน 08.30 น.
เวลาเลิกเรียน 12.20 น.
วันนี้อาจารย์ให้นำเสนอสื่่่อที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ที่นักศึกษาได้ทำแล้วออกมานำเสนอให้เพื่อนๆในห้องได้ฟัง ว่าแต่ล่ะกลุ่มได้ทำสื่อออกมาในรูปแบบใดบ้าง
นี้คือสื่อผลงานของกลุ่มดิฉันคือ การจัดเรียงลำดับพาเพลิน
วิธีการเล่น ให้เรียงลำดับจากน้อยไปหามาก หรือ จากมากไปหาน้อยก็ได้โดยจำแนกสีเป็นหลัก
ผลที่เกิดขึ้นมื่อเด็กเล่นสื่อประเภทนี้
เด็กเกิดความสนใจสื่อที่นำมาเล่นและเกิดความสนุกสนานในการเล่นสื่อ เด็กได้ใช้สมาธิในการจัดเรียงลำดับและจำแนกสีของแต่ล่ะสีได้เหมือนกันโดยแต่ล่ะคนจะจัดเรียงไม่เหมือนกัน
น้องปลาย อายุ 3 ขวบ น้องทำจากมากไปหาน้อยจาก 5 จนถึง 1 แต่น้องจัดเรียงจาก 5 4 3 2 1แล้วนับไปด้วยคือ 1 2 3 4 5 น้องนับรวมกันหมดแต่นับทีละชิ้น
น้องติม อายุ 4 ขวบ น้องแยกแยะจำนวนสีได้ น้องเล่น 5 ครั้ง ก็ถูกทุกครั้งน้องเรียงลำดับจาก 1 ไป 5 และก็ทำจาก 5 ไป 1 น้องติมนับทีละชิ้นได้ และนับรวมกันหมดได้
น้องนาเดียร์ อายุ 5 ขวบ น้องเรียงลำดับได้ถูกต้อง น้องพลัดเปลี่ยนได้ เช่น3ก่อน ค่อยมา 2 1 หรือเรียงจาก1 ไป 5 น้องเดียร์เล่นมากกว่า 5 ครั้ง ทำถูกทุกครั้งในการจำแนกสีและจะนวน
ปัญหาที่พบ เด็กแต่ละคนจะจัดเรียงไม่เหมือนกันและเรียงตามสีที่ตัวเองชอบ
สรุป เด็กแต่ละคนอาจเรียงไม่เหมือนกัน เพราะ พัฒนาการของเด็กแต่ละช่วงอายุแตกต่างกัน
แต่สิ่งที่เหมือนกัน คือ การนับจำนวนทุกครั้งในการจัดเรียง สนใจในการเล่น
ปัญหาที่พบ เด็กแต่ละคนจะจัดเรียงไม่เหมือนกันและเรียงตามสีที่ตัวเองชอบ
สรุป เด็กแต่ละคนอาจเรียงไม่เหมือนกัน เพราะ พัฒนาการของเด็กแต่ละช่วงอายุแตกต่างกัน
แต่สิ่งที่เหมือนกัน คือ การนับจำนวนทุกครั้งในการจัดเรียง สนใจในการเล่น
และนี้คือผลงานของเพื่อนที่ประทับจัยที่สุดมีอยู่ 2 กลุ่มค่ะ
ซึ่งสามารถเอาไปใช้สอนจริงกับเด็กอนุบาลค่ะ
ชื่อว่า นาฬิกาหรรษา
ซึ่งสามารถเอาไปใช้สอนจริงกับเด็กอนุบาลค่ะ
ชื่อว่า นาฬิกาหรรษา
วิธีการเล่น
- ให้เด็กได้รู้จักกับนาฬิกาก่อนว่านาฬิกามีลักษณะอย่างไร
- ครูถอดชิ้นส่วนที่เป็นตัวเลขของนาฬิกาตลอด
- ให้เด็กประกอบชิ้นส่วนของนาฬิกาให้ถูกต้องตามตัวเลขและรูปร่าง
- ให้เด็กเลือกภาพที่มีความสัมพันธ์กับเวลาแล้วนำไปเสียบด้านบนที่เป็นวงกลม ข้างซ้ายมือที่เป็นพระจันทร์หรือพรอาทิตย์ ส่วนข้างขวามือเป็นภาพการใช้ชีวิตประจำวันของเด็ก
ประโยชน์ที่ได้รับ
- เด็กได้รู้จักกับเวลาและกิจวัตรประจำวัน
- เด็กได้เรียนรู้เรื่องรูปทรง เรขาคณิตและเรื่องของพีชคณิต
- ฝึกความคิดและความกล้าตัดสินใจ
- เด็กที่อยู่อนุบาล 3 ไม่สามารถแยกแยะเข็มสั้นเข็มยาวของนาฬิกาได้ เด็กสามารถหมุนได้ว่าเข็มสั้นจะชี้เลขใด และเข็มยาวชี้เลขใด
- เด็กที่อยู่อนุบาล 1 ไม่สามารถเล่นได้เพราะยังแยกแยะไม่ได้ ยังไม่รู้จักตัวเลขและรูปทรง
ชื่อสื่อว่า ร้านค้าพาเพลิน
ประโยชน์ของสื่อ
ช่วยให้เด็กได้รู้จักคุณค่าของเงินและรู้จักการจับจ่ายเกี่ยวกับเรื่องของจำนวนของเงินค่ะ
ผลงานของเพื่อนนักศึกษาปีที่ 2 ค่ะ ที่ได้นำสื่อไปใช้กับเด็กได้จริงค่ะ
ประโยชน์ของสื่อ
1. เปิดโอกาสให้นักเรียนได้เรียนรู้จากวัตถุที่เป็นรูปธรรม ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้นักเรียนได้สร้างแนวความคิดด้วย ตนเอง
2. กระตุ้นให้นักเรียนเกิดความสนใจในเรื่องที่จะเรียนมากขึ้น
3. ช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ได้งายขึ้นและสามารถจดจำได้นาน
3. ช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ได้งายขึ้นและสามารถจดจำได้นาน
4. ให้ประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้นักเรียนทำกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยตนเอง
5. นำประสบการณ์นอกห้องเรียนมาให้นักเรียนศึกษาในห้องเรียนได้
5. นำประสบการณ์นอกห้องเรียนมาให้นักเรียนศึกษาในห้องเรียนได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น